quickspace
บริษัท พี.ซี.ทาคาชิมา (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ควิก สเปซ จำกัด และบริษัท โฟลทิลลา เทคโนโลยี จำกัด หรือ กลุ่มบริษัท P.C.GROUP มุ่งมั่นในการคำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบ โดยยึดหลักการดำเนินธุรกิจ ที่โปร่งใส ตรวจสอบได้ มีจริยธรรม เคารพต่อหลักสิทธิมนุษยชน และให้ความสำคัญต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม อย่างเท่าเทียม ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสนับสนุนในการปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชน และมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน ที่อาจเกิดขึ้นตลอดห่วงโซ่คุณค่าของกลุ่มบริษัท P.C.GROUP จึงได้จัดทำนโยบายสิทธิมนุษยชน โดยยึดมั่นและปฏิบัติตามนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน ในการดำเนินธุรกิจ ที่สอดคล้องกับกฎหมายแรงงาน และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนได้นำแนวทางหลักการขององค์กรด้านสิทธิมนุษยชน ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (United Nations Universal Declaration of Human Rights: UDHR) ข้อตกลงประชาคมโลกแห่งสหประชาชาติ (United Nation Global Compact: UNGC) รวมถึงหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจ และสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (United Nations Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGP) มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของธุรกิจ
ขอบเขต
คํานิยาม
สิทธิมนุษยชน หมายถึง ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพขั้นพื้นฐานที่มีมาแต่กำเนิด และความเสมอภาคที่จะไม่ถูกเลือกปฏิบัติ ด้วยเหตุแห่งเชื้อชาติ ศาสนา เพศ สีผิว ภาษา เผ่าพันธุ์ หรือสถานะอื่นใด
คู่ค้า หมายถึง ผู้ขายสินค้า ผู้รับจ้าง และ/หรือผู้ให้บริการ ทั้งที่เป็นนิติบุคคล และบุคคลธรรมดา แก่กลุ่มบริษัท P.C.GROUP รวมถึงผู้รับจ้างช่วง ของผู้ขายสินค้า ผู้รับจ้างและ/หรือผู้ให้บริการดังกล่าว
แนวปฏิบัติ
เพื่อส่งเสริมการเคารพสิทธิมนุษยชน และการปฏิบัติทางด้านแรงงานทั่วทั้งองค์กร อีกทั้งเสริมสร้างความมั่นใจว่าพนักงานทุกคน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มจะได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม และหลีกเลี่ยงการกระทำใด ๆ ที่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน รวมทั้งปฏิบัติต่อพนักงาน เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายแรงงาน และข้อบังคับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นธรรม ด้วยเหตุดังกล่าว จึงกำหนดเป็นข้อปฏิบัติสำหรับกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายบริหาร และพนักงานทุกระดับของกลุ่มบริษัท P.C.GROUP ไว้ดังนี้
กลุ่มบริษัท P.C.GROUP มีการบริหารจัดการประเด็นเรื่อง สิทธิมนุษยชน ให้แก่ พนักงาน คู่ค้า ลูกค้า และชุมชนที่กลุ่มบริษัท P.C.GROUP ดำเนินการเป็นพิเศษ โดยจัดให้มีการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนตามกรอบเวลาที่เหมาะสม ควบคู่ไปกับการจัดเตรียมมาตรการในการบริหารความเสี่ยงอย่างเหมาะสม และมาตรการเยียวยาตามสมควร โดยได้แบ่งการบริหารจัดการประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนครอบคลุมสิทธิของพนักงานของกลุ่มบริษัท P.C.GROUP สิทธิของคู่ค้า สิทธิของลูกค้า สิทธิของชุมชนและสิ่งแวดล้อม โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
สิทธิของพนักงานของกลุ่มบริษัท P.C.GROUP
สิทธิของคู่ค้า
สิทธิของลูกค้า
สิทธิชุมชนและสิ่งแวดล้อม
สิทธิทางการเมือง
สิทธิทางการเมือง คือ สิทธิในการลงคะแนนเสียง สิทธิเสรีภาพในความเชื่อทางการเมือง การนับถือศาสนา สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นในการชุมนุม ในการรวมตัวกันเป็นสมาคม และการดำเนินการทางการเมือง ในการตีพิมพ์ โฆษณา และการมีส่วนร่วมทางการเมือง บริษัท P.C.GROUP สนับสนุนให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคน สามารถใช้สิทธิทางการเมืองของตนได้ตามครรลองของกฎหมาย ในฐานะพลเมืองดี สามารถแสดงออก เข้าร่วม สนับสนุน และใช้สิทธิทางการเมืองนอกเวลาทำงานได้ โดยใช้ทรัพยากรของตนเท่านั้นโดยยึดถือแนวปฏิบัติอ้างอิงประกาศ นโยบายการเป็นกลางทางการเมือง
การรับข้อร้องเรียน การคุ้มครองผู้ร้องเรียน และการเยียวยา
กลุ่มบริษัท P.C.GROUP เปิดโอกาสให้พนักงาน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สามารถแสดงความคิดเห็นสะท้อนปัญหา และแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียน หากมีเหตุการณ์ หรือการกระทำที่เกี่ยวข้องต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือจรรยาบรรณ ทั้งจากพนักงาน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผ่านช่องทางรับเรื่องร้องเรียน vinita@pctakashima.com, Website, Line group และ Mobile Application, ตู้รับแสดงความคิดเห็น โดยมีการบริหารจัดการข้อร้องเรียนดังกล่าวอย่างเหมาะสม และให้ความเป็นธรรม และคุ้มครองบุคคลที่แจ้งเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มบริษัท P.C.GROUP โดยใช้มาตรการคุ้มครองผู้ร้องเรียนหรือผู้ที่ให้ความร่วมมือในการรายงานการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างสูงสุด กรณีเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนและมีความเสียหายเกิดขึ้น ซึ่งได้รับการพิสูจน์ทางกฎหมายแล้วว่ากลุ่มบริษัท P.C.GROUP เป็นผู้กระทำการละเมิดจริง กลุ่มบริษัท P.C.GROUP ได้กำหนดมาตรการชดใช้เยียวยา ผู้ได้รับผลกระทบอย่างเป็นธรรมในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การรักษาพยาบาล การชำระค่าเสียหาย และการติดตามดูแลผู้ได้รับผลกระทบ เพื่อให้ได้รับการเยียวยาอย่างเหมาะสม